ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลครัวเรือนยากจนโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง “การศึกษารูปแบบการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในระดับพื้นที่ โดยอาศัยกลไกศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาจังหวัดตาก”

ระหว่างวันที่ 18-22 พฤศจิกายน 2567 นางสาววรรณา อรัญกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8 และเจ้าหน้าที่ สสว.8 ที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลครัวเรือนยากจนโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง “การศึกษารูปแบบการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในระดับพื้นที่ โดยอาศัยกลไกศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาจังหวัดตาก” จำนวน 320 คน ในพื้นที่ทุกตำบลของอำเภอพบพระ จังหวัดตาก โดยจัดจ้างอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ผู้นำชุมชน หรืออาสาสมัคร เป็นผู้จัดเก็บข้อมูล เนื่องจากครัวเรือนยากจนส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าต่าง ๆ ที่ใช้ภาษาถิ่นในการสื่อสารเป็นหลัก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทความยากจนในพื้นที่อำเภอพบพระ จังหวัดตาก สำหรับนำไปใช้เป็นข้อมูลนำเสนอคณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอพบพระ จังหวัดตาก (ศพจ.อำเภอพบพระ) พิจารณาในลำดับต่อไป พร้อมทั้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดตากเพื่อวางแผนเตรียมการจัดประชุมคณะกรรมการบริหาร ศจพ.อำเภอพบพระ


Share: